รายการบล็อกของฉัน

วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2557

MUMMY


 มัมมี่ (อังกฤษ: Mummy) คือศพที่ดองหรือแช่ในน้ำยาพิเศษในประเทศอียิปต์ พันทั่วทั้งร่างกายด้วยผ้าลินินสีขาว เพื่อเป็นการรักษาสภาพของศพเพื่อรอการกลับคืนร่างของวิญญาณผู้ตาย ตามความเชื่อของชาวอียิปต์โบราณ คำว่า "มัมมี่" มาจากคำว่า "มัมมียะ" (Mummiya) ซึ่งเป็นคำในภาษาเปอร์เซีย มีความหมายถึงร่างของซากศพที่ถูกดองจนกลายเป็นสีดำ โดยชาวอียิปต์โบราณจะทำมัมมี่ของฟาโรห์และเชื้อพระวงศ์ทุกพระองค์ และนำไปฝังในลักษณะแนวนอนภายใต้พื้นแผ่นทรายของอียิปต์ อาศัยแรงลมที่พัดผ่านในแถบทะเลทรายอาระเบียและทะเลทรายในพื้นที่รอบบริเวณของอียิปต์ เพื่อป้องกันการเน่าเปื่อยของซากศพที่อาบด้วยน้ำยา
ในอียิปต์โบราณมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของชีวิตหลังความตาย เกี่ยวกับการหวนกลับคืนร่างของวิญญาณ โดยมีความเชื่อว่าเมื่อวิญญาณออกจากร่างไปชั่วระยะเวลาหนึ่งจะหวนกลับคืนสู่ร่างเดิมของผู้เป็นเจ้าของ จึงต้องมีการถนอมและรักษาสภาพของร่างเดิม โดยการแช่และดองด้วยน้ำยาบีทูมิน ซึ่งจะช่วยรักษาและป้องกันไม่ให้ซากศพเน่าเปื่อยผุผังไปตามกาลเวลา

การทำมัมมี่

   การทำมัมมี่มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ของอียิปต์โบราณ ร่างของคนตายจะถูกห่อหุ้มไว้ด้วยผ้าหรือเสื่อ อย่างลวกๆ และถูกฝังไว้ในหลุมแคบๆภายในพื้นทรายซึ่งลึกลงไปไม่กี่ฟุต ทั้งนี้เพราะความร้อนของทะเลทรายทำให้ศพอยู่ ในสภาพที่เหมือนถูกอบแห้งด้วยวิธีการอาศัยปัจจัยทางธรรมชาติ
   ในยุคราชวงศ์แรกของอียิปต์หรือราว 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ศพของชาวอียิปต์ถูกห่อหุ้มด้วยผ้าลินินซึ่งอาบน้ำยาและมัดไว้ อยางแน่นหนา ล่วงเลยมาจนถึงราชวงศ์ที่ 2 ของอียิปต์ ราว 2,800 ปีก่อนคริสศักราช การห่อศพจึงเริ่มพิถีพิถันมากขึ้น โดนมีการพันผ้าลินินอาบน้ำยารอบตัวทั้งบริเวณหัว แขน ขา หน้าอก ท้องและลำตัวจนเห็นเห็นรูปทรงของคน รวมทั้งบริเวณนิ้วมือ ก็มีการพัน
   ช่วงปลายราชวงศ์ที่ 3 แห่ง อียิปต์โบราณ มีการผ่าพระศพของกษัตริย์หรือองค์ฟาโรห์และพระราชวงศ์ เพื่อนำเอาอวัยวะภายใน อันเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้ศพเน่าเปื่อย ออกมาดองไว้ต่างหากด้วยตัวยาที่เชื่อว่าสามารถป้องกันการเน่าเปื่อยได้ เช่นแช่ไว้ด้วยของเหลวที่เรียกว่า เนตรอน ( Natron ) อันเป็นสารละลายของโซดาชนิดหนึ่งดังเช่นการค้นพบพระบรมศพของ ราชินี เฮเตเฟเรส ( Hetepheres ) พระชายาแห่ง สเนฟูรู ( Snefru ) ซึ่งเป็นพระชนนีของฟาโรห์คีออปส์( ผู้มีชื่อเสียงเกี่ยวกับ ปิรามิด แห่งคีออปส์ ) ปรากฎว่าอวัยวะภายในของพระนางถูกดองเอาไว้และมีการปิดผนึกอย่างดี สามารถคงสภาพไว้ได้เป็นเวลาถึง 4,000 ปี วิธีการนำอวัยวะออกมาดองนี้ต่อมาได้แพร่หลายสู้พวกอัศวินหรือขุนนางและบุคคลสำคัญอื่นๆ สหรับช่องท้องนั้นได้ถูกยัดไว้ด้วยผ้า ลินินอาบน้ำยา
    ในช่วงประวัติศาสตร์ของราชวงศ์อียิปโบราณที่ 4-5 หรือราว 2570-2450 ก่อนคริสศักราช เทคนิคการทำมัมมี่ได้วิวัฒนาการใช้ยางสนแสดงรูปลักษณ์ภายนอกของมัมมี่ซึ่งมี ความคงทนถาวรถึงขนาดขนคิ้วหรอกหนวดของผู้ตายยังแสดง ออกให้เห็น ดังเช่นมัมมี่ของ เพตริค ( Petric ) ซึ่งค้นพบโดย วิลเลี่ยม เอ็ม.เอฟ.เพตริค ( Willam M.F. Petric ) นัก อียิปต์วิทยาชาวอังกฤษ และมัมมี่ของ เยนตี้ ( Yenty ) อัครมหาเสนาบดีในยุคราชวงค์ที่ 5 ( เป็นเพียงข้อสันนิษฐาน ทางประวัติศาสตร์ ) ซึ่งถูกบรรจุไว้ในโลงหินแกรนิตสามารถรักษาเค้าหน้าของมัมมี่ ไว้ได้อย่างน่าทึ่ง ค้นพบโดย ยอร์ช เอ. ไรส์เนอร์ ผู้ขุดพบปิรามิดแห่ง กีซา
   จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เชื่อกันว่าเริ่มทฃมีการใช้ปูนปลาสเตอร์ฉาบหน้าหรือศีรษะและบางทีก็พอกมมมี่ทั้งตัว ในยุคราชวงศ์ ที่ 6 หรือราว 2300 ปีก่อนคริสกาล และมีการเขียนตบแต่งรูปใบหน้าให้สวยงาม ต่อมาจีงมีการสวมทับด้วยหน้ากากซึ่งทำด้วยสาร คาร์ตันเนจ ( Cartonnage ) อันเป็นส่วนผสมของกระดาษ ปาปิรัส ( Papyrus ) กับ ผ้าปลาสเตอร์รวมกับกาว ต่อมาจึงมีการคลุมหรือปิดทันทั้งตัวไม่ใช่เฉพาะส่วนของหน้า และในยุคอาณาจักรของพระเจ้าทีปส์ ( Thebes ) หรือราว 1550 ปีก่อนคริสศักราช ได้มีการดูดมันสมองออกมาจากศพและการฉีดสารเคมีบางอย่างเข้าไปใต้ผิวหนังเพื่อรักษาสภาพเอาไว้ให้คงอยู่ ได้นานที่สุด